ประวัติ : ชื่อ นางสุนา ศรีบุตรโคตร
เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๘
ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านหนองอ้อ ตำบลหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๗-๒๑๗๘๙๘๙
ผลงาน :
- ได้รับรางวัลพระราชทาน รางวัลชนะเลิศการประกวดผ้าขิดไหม จาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ปี พ.ศ. ๒๕๒๖, ๒๕๒๗, ๒๕๒๘, ๒๕๓๖, ๒๕๓๘, ๒๕๓๙, ๒๕๔๐, ๒๕๔๑, ๒๕๔๓ ,๒๕๕๔,๒๕๔๘,๒๕๔๙ จนถึงปัจจุบัน
- ได้รับโล่เกียรติยศ รางวัลชนะเลิศการประกวดผ้าขิดไหมงานผ้ามรดกร่วมสมัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. ๒๕๓๖
- ได้รับการยกย่องเป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ ๒ ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (การทอผ้า) จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. ๒๕๔๕
- ได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคลากรดีเด่น ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จัดการศึกษานอกโรงเรียนดีเด่น อับดับ ๑ ระดับกลุ่มศูนย์ภูพาน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรมศึกษา นอกโรงเรียน ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ , ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบัน
- ได้รับรางวัล เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นเหรียญเงิน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ปี พ.ศ. ๒๕๔๗
- มีพระราชเสาวนีย์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เชิญคุณแม่สุนา เผ้าทูลละอองธุลีพระบาท เนื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ หอรัษฎาพิพัฒ พระบรมมหาราชวัง (วัดพระแก้ว) ปี พ.ศ. ๒๕๕๕
เรื่องราว
ผ้าขิด ถือได้ว่าเป็นผ้าพื้นเมืองของภาคอีสานที่ สะท้อนให้เห็นลักษณะ ลวดลาย และวิวัฒนาการของท้องถิ่นเดิมของไทยที่มีมาแต่โบราณ ชาวอีสานถือว่าการ ทอผ้าขิดต้องอาศัยความชำนาญและมีชั้นเชิงทางฝีมือ
ของผู้ทอสูง เพราะทอยากมีเทคนิคซับซ้อนกว่าการทอผ้าธรรมดา เพราะมีกรรมวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อน ทอได้ช้าต้องใช้เวลา ความอดทน และความละเอียด ผู้ทอต้องเป็นผู้ที่มีใจรักมีพรสวรรค์เท่านั้นจึงสามารถทอผ้าลายขิดได้อย่างงดงาม
นางสุนา ศรีบุตรโคตร เป็นผู้หนึ่งซึ่งสืบทอด ภูมิปัญญาการทอผ้าขิด และผ้าขิดไหมจากบรรพบุรุษ จากยาย และมารดา ทอผ้าเป็นตั้งแต่มีอายุเพียง 4 ปี และเรียนรู้ฝึกฝนการทอผ้ามาจนอยู่จิตวิญญาณ ในวัยเด็กได้เรียนรู้กรรมวิธีปั่นฝ้ายเพื่อนำมาผลิตเป็นหมอนขิด หรือ ผลิตขึ้นเป็นผ้าปูที่นอนลายขิด เรียนรู้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหม และการทอผ้าขิดไหม ได้เห็นลายต่าง ๆ จากหมอน จากผ้าถุงเก่าของบรรพบุรุษก็จดจำไว้ และจากการที่เป็นคนเฉลียวฉลาดจึงมีความคิดประยุกต์ลวดลายให้เป็นสิ่งใหม่ ๆ เสมอ
ผ้าไหมขิด ลายมรดกโบราณ จากการที่ คุณแม่สุนา ศรีบุตรโคตร ได้ฝึกหัดทอ หมอนขิด ผ้าขม้า ผ้าถุงมัดหมี่ เอาไว้ใช้ในบ้าน โดยการเรียนรู้จากมารดา และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ รัชกาลที่ 9 ได้พัฒนาให้ข้อคิดจากการทอผ้าฝ้าย มาใช้เป็นเส้นไหมแทน เป็นผ้าขิดไหม พร้อมส่งเสริม ใครทอสวยงาม ก็ได้รับรางวัล แม่สุนาได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภท ผ้าขิดไหม จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ รัชกาลที่ 9 ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จ.สกลนคร เป็นประจำทุกปี จึงมีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ คุณแม่สุนา ศรีบุตรโคตร ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทผ้าขิดไหม จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ รัชกาลที่ 9 ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เป็นประจำทุกปี จึงทำให้มีแรงบันดาลใจในการทอผ้า
ผ้าขิดไหม ลายดอกพิกุล ทางยืนสีน้ำตาลพุ่งยกดอกสีทองอ่อน เป็นลายที่ครูสุนาได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เพื่อให้มา ทอเป็นผ้าการบ้าน
โอกาสสวมใส่ ครูสุนา ทอถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงสวมใส่เป็น ฉลองพระองค์ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ
นางสุนา ศรีบุตรโคตร มีผลงานสร้างสรรค์และสืบสาน การทอผ้ามาโดยตลอด เมื่อปี 2525 ครูสุนาได้มีโอกาสทูลเกล้าฯถวายผ้ามัดหมี่และผ้าขิดฝ้ายแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ซึ่งต่อมาพระองค์ ทรงพระราชทานเงินรางวัลและแต่งตั้งให้เป็น “ครูหลวง” สอนการทอผ้าไหมลายขิดประจำพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ และศูนย์ศิลปาชีพต่างๆ ปัจจุบัน ครูหลวงสุนา ได้ใช้ความรู้ความสามารถถ่ายทอดความ รู้การทอ ผ้าไหมลายขิด ให้แก่คนทุกหมู่เหล่า ทำให้เพิ่มมูลค่า และคุณค่าแก่ผ้าไหมไทยให้ได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลาย และการที่ครูสุนาได้นำความรู้การทอผ้าไหมที่ตนเองค้นคว้าทดลองนำไปแพร่หลายนั่นเอง